เกษตรกรน า หว้า สร้างมูลค่ า อัดฟางข้าวก้อนเลี้ยงค ว า ย

หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ฟางข้าวคือสิ่งที่เหลือซึ่งถือเป็นผลพลอยได้ที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งการเก็บฟางนี้เดิมใช้แบบกอง เวลาจะนำให้โค-กระบือทาน ก็จะมาดึงออกมาจากกอง แล้วมัด

แต่ปัจจุบันชาวนาจะมีทางเลือกในการเก็บฟางมากขึ้น คืออัดก้อน ซึ่งนอกจากจะเก็บไว้เป็นอาหารโค-กระบือ แล้ว รู้ไหมว่ายังนำมาสร้างรายได้ได้อีกด้วย

และอีกหนึ่งเกษตรกรที่มีแนวความคิดใหม่ หมู่ที่ 5 ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม นายส อ น ชัย เพชรฤ ท ธิ์ ที่เริ่มมองเห็นโอกาสจากการเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้จากฟางข้าว ด้วยการต่อยอดอัดก้อนฟางข้าวไว้เป็นอาหารสัต ว์

และมีการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเพื่อสร้างรายได้เสริม รวมถึงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ในการทำการเกษตรแบบผสมผสาน

คุณสอนชัย เปิดเผยว่า ตนเองเป็นเกษตรและทำอาชีพการเกษตรมามากกว่า 10 ปีแล้ว และมองเห็นว่าชาวนาทั่วไปเมื่อทำการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จ ก็ทำการเwาฟางข้าวทิ้ง เพื่อที่จะทำนาปรังหรือปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น ข้าวโพด แตงโม ฟักทอง เป็นต้น ทำให้เกิดม ล พิ ษ และไม่ก่อให้เกิดรายได้ใดๆ

ตนเองซึ่งเลี้ยงคว า ย สวยงามอยู่แล้ว จึงมองว่าน่าจะเพิ่มมูลค่า และสร้างรายได้จากฟางข้าวได้ ด้วยการนำมาอัดก้อนจำหน่าย หรือนำมาเป็นอาหารเลี้ยง สั ต ว์ ช่วยลดต้นทุนการผลผลิตได้เป็นอ ย่ า ง ดี

สิ่งสำคัญในการอัดฟางก้อน จะต้องเก็บเกี่ยวข้าวด้วยมือ เพราะฟางข้าวที่ได้จะไม่มีเศษดิน สำหรับฟางข้าวที่อัดก้อนแล้วจะมีsาคา ประมาณ 35 – 45 บ า ท/ก้อน และจะมีาคาสูงมากในช่วงฤดูฝน ประมาณ 40 – 50 บ า ท /ก้อน

ซึ่งปีนี้มียอดสั่งจองจากกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงโค – กระบือ มากกว่า 5,000 ก้อน แต่ก็มีไม่เพียงพอกับความต้องการ เพราะตนเองก็เลี้ยงคว า ยสว ยงาม ทำให้ต้องเตรียมสำรองไว้เป็นอาหารในช่วงฤดูแล้งนี้ด้วยเช่นกัน

ด้านนายวิชา คำมุงคุณ เกษตรอำเภอนาหว้า เปิดเผยว่า ในพื้นที่อำเภอนาหว้า สำนักงานเกษตรอำเภอนาหว้า ได้มีการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตร ในการหยุดเwาในพื้นที่การเกษตร

และเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ด้วยการเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้จากฟางข้าว เช่น การทำปุ๋ ย ห มั ก ฟางอัดก้อน การเ พ า ะ เห็ดฟาง เป็นต้น

สำหรับพื้นที่อำเภอนาหว้าโดยส่วนใหญ่นอกจากจะมีการทำนาข้าว ยังมีการเลี้ยงสั ต ว์ เป็นจำนวนมาก ได้แก่ โค – กระบือ ซึ่งสิ่งจำเป็นและสำคัญคือแหล่งอาหารที่จะต้องเพียงพอกับความต้องการของสั ต ว์เลี้ยง

การที่เกษตรกรหันมาใช้ประโยชน์จากฟางข้าวด้วยการอัดฟางก้อนไว้เป็นอาหาร สั ต ว์ จะช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนด้านอาหารมากกว่า 30 % ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตที่ลดลง

และยังมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่ได้เพิ่มขึ้น

ขอบคุณแหล่งที่มา 77kaoded.com

เรียบเรียงโดย พูดดี ดอทคอม

Facebook Comments